top of page
ทำไมต้องทำป้าย
ทำไมต้องทำป้าย

ปัจจุบัน "ป้าย" เป็นหัวใจในการทำธุรกิจ การทำธุรกิจให้เด่น มีคนรู้จักและสนใจในแหล่งที่ตั้งของธุรกิจนั้น การทำป้าย จึงเป็นเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยให้ลูกค้ามองเห็น มิฉะนั้นการทำป้ายจะต้องให้ได้ประโยชน์และชัดเจนที่สุด

ประโยชน์ของการทำป้าย
1. ป้ายเป็นสื่อที่บ่งบอกให้รู้ว่าท่านทำธุรกิจอะไร และบอกชื่ออาคารสถานที่ตั้ง
2. ป้ายเป็นส่วนหนึ่งในการตบแต่งอาคารให้ดูสวยงาม หรูหรา เหมาะสม และทันสมัย ซึ่งจะบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือและความภูมิฐาน
3. ความโดดเด่นของป้ายที่ใหญ่และสวยสะดุดตา เป็นแรงจูงใจให้คนที่สัญจรผ่านไปผ่านมาได้ทราบโดยเร็วในการทำธุรกิจซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำตลาดหากลุ่มลูกค้าเรา
4. การทำป้ายในแต่ล่ะครั้งสามารถอยู่ได้หลายปี ถ้ามองในการลงทุนถือว่าคุ้มค่าในการทำธุรกิจ แต่การที่จะให้คุ้มค่าการลงทุนนั้นและจะให้ได้ประโยชน์ในการใช้งานแลโฆษณา ต้องอาศัยผู้ชำนาญงานทางด้านออกแบบและติดตั้งป้ายที่มีประสบการณ์สูง

ป้ายที่ดีต้องทำอย่างไร
ป้ายดีต้องทำอย่างไร

ป้ายที่ดีดูจากตรงไหน! และต้องทำอย่างไร!
1. สถานที่ในตำแหน่งติดตั้งป้ายต้องให้ได้ตำแหน่งที่สามารถมองเห็นเด่นชัดที่ สุด (ในทุกด้านที่สามารถมองเห็นได้ยิ่งดี เป็นการโฆษณาเพื่อไม่ให้เสียโอกาศ)
2. ขนาดของป้ายต้องไม่ให้เล็กไป และเหมาะสมกับอาคาร
3.ป้ายต้องจัดทำและติดตั้งให้ได้มาตรฐานสากล
4. ป้ายภายนอกอาคาร ต้องมีความแข็งแรงและคงทน เนื่องจากต้องรับลมแรงและพายุฝน โดยต้องอาศัยผู้ที่ชำนาญในการติดตั้งและผู้ทำมีประสบการณ์ด้านการคำนวณโครง สร้างเหล็ก
5. ป้ายต้องใช้วัสดุคุณภาพ เพื่อเน้นอายุการใช้งานให้ได้ด้าน ไม่ต้องมาดูแลหรือซ่อมบำรุง ในด้านต่างๆ (สี อุปกรณ์ไฟ โครงสร้าง)
6. ป้ายต้องให้ได้ตัวอักษรในการโฆษณาที่ใหญ่ชัดเจน ไม่ต้องมีข้อความมาก เนื่องจากจะทำให้ตัวอักษรเล็ก
7. แบบของป้ายต้องให้ได้สัดส่วน และเลือกแบบของตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน และทันสมัย

การเสียภาษีป้าย
อัตราการเสียภาษีป้ายโฆษณา

บัญชีอัตราภาษีป้าย–––––––––––        

(1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 10 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร         

(2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 100 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 200 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร 

   (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่

   (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ         

(4) ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ซึ่งมีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมายหรือภาพอื่นได้ โดยเครื่องจักรกลหรือโดยวิธีใด ๆ ให้คิดอัตราภาษีตามจำนวนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพ หรือตามระยะเวลาที่ข้อความเครื่องหมาย หรือภาพปรากฏอยู่ในป้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้ายังไม่ได้ออกกฎกระทรวงให้คิดอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีป้ายนี้

(5) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14 (3) ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณีและให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น

(6) พื้นที่ของป้ายไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร ให้คำนวณ ดังนี้

   (ก) ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร

   (ข) ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือว่าตัวอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนกว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตาม (ก)

(7) ป้ายตาม (1) (2) (3) หรือ (4) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว 

    (ก) ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตรให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง

    (ข) ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท       

 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาษีป้ายเป็นภาษีของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ควรแยกออกจากประมวลรัษฎากรและมอบให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลและสุขาภิบาล เป็นผู้จัดเก็บ จึงตรากฎหมายว่าด้วยภาษีป้ายขึ้นโดยเฉพาะ พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 19 ให้ยกเลิกบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และให้ใช้บัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน กฎกระทรวงที่กำหนดอัตราภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การเก็บภาษีป้าย ในปีถัดจากปีที่ประกาศกฎกระทรวงในราชกิจจานุเบกษา         พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 20 บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 21 ความในมาตรา 7 วรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษ  พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษี การกำหนดอัตราภาษี การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การประเมินภาษี การชำระภาษี การบังคับชำระภาษีค้าง การคืนเงินค่าภาษี อัตราเงินเพิ่ม และการอุทธรณ์ ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันหรือให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ติดต่อเรา 081-912-6696
ID Line:   TPRprogress
Line No:  0802797742

"บริการดี ราคาเป็นมิตร ตรงต่อเวลา"

bottom of page